thaiall logomy background

การขอตำแหน่งทางวิชาการด้วยหนังสือ clipper

my town
เกณฑ์วิทยฐานะครู | เส้นทางสู่ตำแหน่ง ผอ. โรงเรียน | เส้นทางสู่ตำแหน่งทางวิชาการในระดับอุดมศึกษา |
การขอตำแหน่งทางวิชาการด้วยหนังสือ
สารบัญ
เหตุที่ขอตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ในครั้งแรก ไม่ผ่าน
1. ผลการขอตำแหน่งทางวิชาการของผม
2. หัวข้อประเมิน เพื่อให้ Reader แสดงความคิดเห็น
3. รูปแบบเอกสารที่เหมาะสม
4. ข้อสรุป จุดบกพร่องจากการขอตำแหน่งทางวิชาการ
ต.ย. ข้อเสนอแนะ
คำที่ใช้ต้อง ตรวจสอบจากพจนานุกรมที่เป็นที่ยอมรับ อย่าให้ผิด
ต้องมี Reference ของภาพ และข้อความ ที่คัดลอกมา
อย่าใช้คำว่าหน่วยที่แบบแผนการจัดการเรียนรู้ แต่ให้ใช้คำว่า บทที่
หัวข้อใหญ่ตัวอักษรใหญ่ชิดซ้าย หัวข้อย่อยย่อหน้า 1 Tab ตัวเล็กลง และลดหลั่นกันไป
Technical Term ต้องแปลเป็นภาษาไทย เช่น แฟ้มข้อมูลหลัก (Master File)
อย่าใช้คำไทย สลับกับคำภาษาอังกฤษ
เอกสารประกอบการสอน และตำรา ต้องเป็นคนละวิชา
ตำรา ต้องมีการเปิดสอนในสถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษา
ขนาดตัวอักษร หัวข้อใหญ่มีขนาด 18 และหนา หัวข้อรองมีขนาด 16 และหนา

เหตุที่ขอตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ในครั้งแรก ไม่ผ่าน
สรุปว่า ผมทำเอกสารยื่นขอทั้งหมด 4 ครั้งในวิชาที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ 2543 มาจบในปี 2549
ปัญหา 4 ข้อนี้จะไม่เกิดกับเอกสารอื่นของผมอีก .. เพราะนี่คือบทเรียน
1. หนังสือเล่มแรก Clipper ที่ใช้ยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ ถูกเขียนด้วยความตั้งใจที่จะใช้เป็นเอกสารอ้างอิง มิได้เรียงบทต่อบท ตามแผนการสอน โดยเรียบเรียงจากแหล่งอ้างอิงต่าง ๆ มิได้ออกแบบให้เป็นไปตามแผนการสอน แบบชั่วโมงต่อชั่วโมง หรือบทต่อบท หนังสือเล่มนี้รวบรวมตัวอย่างคำสั่ง ฟังก์ชัน ได้อย่างสมบูรณ์ และกรณีศึกษา 2 ระบบ คือ ระบบทะเบียน และระบบขาย การนำไปใช้ในการสอนจึงถูกอ้างอิงในชั้นเรียนแบบข้ามไปข้ามมาตลอดเวลา จึงจะสอนโปรแกรมหนึ่ง ๆ ที่ไม่มีในตัวอย่างได้ แต่หากผู้ใช้เข้าใจลักษณะของหนังสือ เหมือนเข้าใจ Dictionary ก็จะค้นหาสิ่งที่ต้องการได้โดยง่าย แต่หนังสือเล่มนี้มิใช่ "ตำรา" ที่ออกแบบให้เป็นไปตามแผนการสอน .. ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการขอตำแหน่งทางวิชาการ
2. วิชาที่ผมขอตำแหน่งทางวิชาการ รวมถึงวิชาอื่นที่เคยสอนมากว่า 10 ปี ไม่สามารถใช้ได้ เพราะผมย้ายคณะทำให้ไม่ได้รับมอบหมาย ให้สอนวิชาเดิม ๆ อีกต่อไป และวิชาในคณะใหม่ ก็พึ่งได้รับมอบหมาย ทำให้ต้องรอเวลาอีกระยะหนึ่ง จึงจะจัดทำเอกสารที่เหมาะสมกับ การขอตำแหน่งทางวิชาการได้ .. แม้จะหาเหตุผลที่จะใช้วิชาในคณะเดิมได้ แต่ผมพร้อมที่จะไปเรียบเรียงขึ้นใหม่
3. การเขียนหนังสือเล่มนี้ ซึ่งเป็นเล่มที่ 8 เริ่มเขียนปี 2539 แล้วนำไปขอตำแหน่งในปี 2543 จนทราบผลในปี 2546 เป็นงานเขียนที่ขาดการวางแผนตามแผนการสอนในแบบของตำรา แต่หนังสือเล่มล่าสุดคือ เล่มที่ 18 วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ ในระดับปวช. เขียนให้สำนักพิมพ์นิมิตร จิวะสันติการ เพื่อขายให้โรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ มีการวางแผนแบบตำราอย่างชัดเจน ต้องจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ของแต่ละบท แต่ละชั่วโมง พร้อมเฉลยแบบฝึกหัด หนังสือเล่มนี้อาจารย์ สามารถสอนตามได้ทันที เมื่อใช้เสนอขอตำแหน่งในครั้งที่ 2 ก็พบว่ามีเนื้อหาไม่ตรงกับหลักสูตรในสถาบัน
4. สรุปได้ว่าผมหยุดคิดปรับปรุงหนังสือเดิม แต่หันไปเขียนหนังสือเล่มใหม่ เพราะเป็นวิชาที่รับผิดชอบในปัจจุบัน รวบรวมข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบที่ thaiall.com/os และ thaiall.com/cobol รวมทั้งมีประสบการณ์จัดทำแผนการสอนให้สถาบันอื่นมาบ้าง หลังจากท้อที่ขอมา 2 ครั้งแล้วไม่ผ่าน ก็เริ่มต้นคิดใหม่ทำใหม่ และเรียบเรียงใหม่ จนจบการขอในครั้งที่ 4 เมื่อต้นปี 2549 .. มิเช่นนั้นผมคงต้องทำต่อในครั้งที่ 5

1. ผลการขอตำแหน่งทางวิชาการของผม
คือ ยังไม่เหมาะสมที่จะได้รับตำแหน่งทางวิชาการ (ผ.ศ.)

ผมเป็นคนแรกของสถาบันที่ขอตำแหน่งทางวิชาการเมื่อ 16 มิถุนายน 2543 และผลการพิจารณาสิ้นสุดลงเมื่อ 19 มิถุนายน 2546 รวมเวลาทั้งสิ้น 3 ปี 3 วัน (สำหรับครั้งต่อไปยังไม่กำหนด เพราะปัจจุบันย้ายคณะ(2546/1) และได้รับมอบหมายวิชาใหม่ จึงจัดทำเอกสารต่าง ๆ ยังไม่เรียบร้อย รวมถึงมีงานเขียนให้สำนักพิมพ์นอกสถาบันที่ยังคั่งค้างอยู่) เอกสารที่ส่งครั้งแรกประกอบด้วย
  1. บันทึก เรื่อง ขอรับการพิจารณาตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ (16 มิถุนายน 2543)
  2. เอกสารประวัติย่อ 5 หน้า
  3. เอกสารประกอบการสอน หรือแผนการสอน ครั้งแรก 8 หน้า ต่อมาปรับเป็น 36 หน้า
  4. หนังสือตอบรับจาก สำนักหอสมุด จำนวน 5 ฉบับ (โยนก, จุฬาฯ, ขอนแก่น, เชียงใหม่, พายัพ)
  5. หนังสือ Clipper จำนวน 346 หน้า

2. หัวข้อประเมิน เพื่อให้ Reader แสดงความคิดเห็น
1. เนื้อหาสาระทางวิชาการ
1.1 การเรียงลำดับ และการต่อเนื่อง
1.2 ความถูกต้องทางวิชาการ
1.3 ความลึกซึ้ง
1.4 ความทันสมัย
2. การใช้ภาษา และการสื่อความหมาย
3. การให้ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ทางวิชาการ
4. การให้ประโยชน์ในการเรียนการสอน
5. ความเป็นแหล่งอ้างอิงของผู้อื่น
6. อื่น ๆ
สรุปการประเมิน
O เหมาะสมที่จะใช้ประกอบการพิจารณาดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
O เหมาะสมให้ผู้แต่งตำราปรับปรุงแก้ไขใหม่ (ตามบันทึกที่แนบ)
O ยังไม่เหมาะสมได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
O อื่น ๆ ระบุ ................

3. รูปแบบเอกสารที่เหมาะสม
บทที่ 1 (ขนาด 18 ตัวหนา)
1.1 หัวข้อใหญ่ (ขนาด 18 ตัวหนา)
1.1.1 หัวข้อย่อย (ขนาด 16 ตัวหนา)
อักษรปกติขนาด 16

4. ข้อสรุป จุดบกพร่องจากการขอตำแหน่งทางวิชาการ
  1. ต้องมี 2 รายการที่แตกต่างกัน แต่เสนอ 2 รายการที่เป็นวิชาเดียวกัน
    เอกสารคำสอน และ (บทความทางวิชาการ หรืองานแปล หรือ เรียเรียง หรือสิ่งประดิษฐ์)
    หมายความว่าต้องมีทั้ง เอกสารคำสอน และงานเรียบเรียง ที่แตกต่างกัน
  2. แผนการสอนไม่คำนึงถึงลำดับการเรียนรู้ และความต่อเนื่องของการเรียนเขียนโปรแกรมเป็นสำคัญ
    เช่น เริ่มจาก input/output อย่างง่าย แล้วจึงนำไปประกอบคำสั่ง process
  3. หัวข้อ และเนื้อหา ไม่สอดคล้องกับรายวิชา สับสนในการนำไปใช้
  4. รูปแบบ และ font ไม่เป็นมาตรฐาน เล็กเกินไป
  5. ไม่มีแบบฝึกหัดท้ายบท
  6. การเชื่อมโยงจากบทหนึ่ง ไปอีกบทหนึ่งมีน้อย
  7. อธิบายเฉพาะคำสั่งใช้งาน ไม่อธิบาย option ของคำสั่ง
  8. ไม่อธิบายการทำงานของแต่ละโปรแกรมอย่างละเอียด
  9. ควรแปลภาษาอังกฤษ เป็นไทย สำหรับคำที่แปลได้
  10. ควรมีดัชนีท้ายเล่ม (Index)
  11. ควรมี Source code บรรจุ CD หรือ Diskette ให้นักศึกษานำไปทดลองปฏิบัติ
  12. ไม่มีการอธิบายหลักการออกแบบฐานข้อมูล
อ่านเพิ่มเติม
ความแตกต่างของ หนังสือ และตำรา ความแตกต่างระหว่างหนังสือกับตำรา โดย ผศ.ดร.อนุพงษ์ อินฟ้าแส การขอตำแหน่งวิชาการ ก.พ.อ. ได้ให้คำนิยามตำราและหนังสือสำหรับการขอกำหนดตำแหน่งวิชาการ ดังนี้
ตำรา หมายถึง “ผลงานวิชาการที่เรียบเรียงขึ้นอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมเนื้อหาสาระของวิชา หรือ ของหลักสูตรที่สะท้อนให้เห็นความสามารถในการถ่ายทอดวิชาในระดับอุดมศึกษา อาจพัฒนาขึ้นจากเอกสารคำสอนให้มีความสมบูรณ์ที่สุด และมีเนื้อหาสาระทันสมัย ต้องจัดทำเป็นรูปเล่ม ประกอบด้วย คำนำ สารบัญ เนื้อเรื่อง การอธิบาย หรือ การวิเคราะห์ การสรุปอ้างอิง บรรณานุกรม ภาคผนวก (ถ้ามี) และดัชนี” อาจเรียกว่า ตำราเรียน
หนังสือ หมายถึง “ที่เรียบเรียงจากฐานวิชาการที่มั่นคง มีความต่อเนื่องในเนื้อหา ไม่จำเป็นต้องเป็น ส่วนประกอบรายวิชาใดวิชาหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องใช้ประกอบการสอนสอดคล้องกับสาขาวิชาของผู้กำหนด ตำแหน่งวิชาการ เนื้อหาสาระทันสมัย และสะท้อนให้เห็นในการถ่ายทอดวิชาในระดับอุดมศึกษา”
“หนังสือต้องจัดทำเป็นรูปเล่มที่ประกอบด้วยคำนำ สารบัญ เนื้อเรื่อง การวิเคราะห์ การสรุป การอ้างอิง บรรณานุกรม ภาคผนวก (ถ้ามี) และดัชนี”
Thaiall.com