การตัดครอบเนื้อหาจากเว็บเพจ ออกมาแยกแสดง

กฤษฎา ตันเปาว์ | จริยธรรมสำหรับผู้บริหาร | วิจัยคืออะไร | ศูนย์สอบ | KM | SWOT | คำสำคัญ | index100* |
เลือกบทความ

1. กลไกป้องกันตนเอง (Self defense mechanism)

จิตวิทยาในการแก้ปัญหาของคนเราโดยการ "หลอกคนอื่น ที่เริ่มจากการหลอกตนเอง"
คนเรา เป็นสัตว์สังคม ทำให้อยู่ในกลุ่มสังคม ทั้งในชีวิตประจำวัน การงาน ครอบครัว ชมรม สมาคม เป็นต้น สิ่งที่ควบคุมเราใน "การวางตัว (Demeanor)" โดยภาพในจิตจะตัดสินใจ ถ้าตามใจตนเอง นิสัย ความต้องการ บุคลิกภาพของตนเอง 100% ไม่สนโลกเรียกว่ามากจากอิด ( Id) ในฝั่งตรงข้ามกัน คือ ตามกรอบของสังคม ศีลธรรมจรรยา จริยธรรม ศาสนา กฎระเบียบ กฎหมาย 100% เรียกว่า ซุปเปอร์อีโด้ (Superego)
ดังนั้นทุกเวลา เหตุการณ์ บทหนักจึงอยู่ที่จิตใจของตนก่อนแสดงออกมา ในการตัดสินใจ พูด แสดงออก ประพฤติ ปฏิบัติ ออกมา เรียกว่า อีโก้ (Ego) ถ้าเอนเอียงไปตามกรอบ Superego = คนอยู่ในระเบียบ ไม่มี หรือ มี Ego น้อย แต่ถ้าผลของจิตให้แสดงไปทาง Id ก็จะกลายเป็น "คนมี ego" หรือ "ego สูง" เอาตนเป็นใหญ่นั่นเอง
บางครั้งสภาพจิตใจของคนเราเกิดอาการ "ตัดสินใจไม่ถูก (Stuck in the Middle)" เช่น แก้ปัญหาไม่ได้ มีทางเลือกที่ใกล้เคียงกัน รักพี่เสียดายน้อง ขาดความเชื่อมั่นตนเอง ขาดความมั่นใจ กลัวผลลัพธ์ที่จะตามมา เป็นต้น
ท่านเคยได้ยินได้พบไหม การแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด แต่ต้องทำอะไรสักอย่าง ซึ่งมาแทนที่การตัดสินใจไม่ถูก บางครั้งเป็นการเบี่ยงเบนจากจิต เรียกว่า "กลไกป้องกันตนเอง" (Self defense mechanism) 5 ประเภท ได้แก่
1) การเก็บกด (Repression)
เป็นการสั่งจิตใต้สำนึกตนเอง ขังตนเอง ไม่รับรู้ ปิดตัวเอง บังคับตนเองให้ไม่สนใจ/ ลืม บางสิ่ง หรือ เหตุการณ์ เช่น เคยทำงาน/กิจการผิดพลาดใหญ่หลวง ก็เป็นคนเย็นชาเหม่อลอย ไม่กล้าเปิดตนเอง ในชีวิตจริง จะเป็นคนเหม่อลอย ไม่สนโลก ฝังใจซ้ำ ๆ
2) การถดถอย (Regression)
เป็นการลดพฤติกรรมการแสดงออก พูด ปฏิบัติ ลดลง ถอยไปในอดีต เช่น หัวหน้าให้ความสำคัญเห็นผลงานกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นมากกว่า ก็รู้สึกไม่อยากทำอะไร หมดอาลัยตายอยาก ลดการทำงาน ลดเวลา ลดผลงานลง ไม่อยากทำงาน เบื่อโลก ในเรื่องทั่วไป จะมีพฤติกรรมเหมือนที่เคยทำสมัยก่อน หรือ วัยเด็ก
3) การโยนความผิดให้ผู้อื่น (Projection)
เป็นการที่จิตสั่งให้ไปโทษคนอื่นแทน โยนความผิด หรือ หาความไม่ดีของคนอื่นมาเฉลี่ยภาพความไม่ดีของตนให้ลดความรู้สึกกับคนอื่น ๆ โทษทุกสิ่ง โยนทุกคน ยกเว้นตนเอง ซึ่งการกล่าวโทษอาจใช้ "อารมณ์" คำพูดรุนแรง คำด่าทอร่วมด้วย
4) การแสดงตรงข้าม (Reaction Formation)
เป็นการแสดงออกตรงข้ามกับในใจที่ต้องการจริง ชอบจะแสดงไม่ชอบ ไม่อยากทำจะรีบทำ ไม่สนใจจะทำสนใจ ในชีวิตประจำวัน เช่น ไปรักคนที่ตนคิดว่าไม่เหมาะสม ก็จะแสดงว่าเกลียดคนนั้นไปแทน
5) การสร้างสิ่งทดแทนอื่นที่สังคมยอมรับ (Sublimation)
เป็นการหาจุดเด่นแทนที่ความล้มเหลว ความผิดหวัง ผิดพลาด เป็นการหาปมเด่นอื่น ที่เป็นที่สนใจ เช่น ช่วยงานส่วนกลาง จิตอาสา ทำเพื่อสังคม การแสดง ดนตรี กีฬา เป็นต้น
ในภาพรวมแล้ว การที่คนใช้กลไกป้องกันตนเอง ในลักษณะต่าง ๆ 5 รูปแบบนั้น แท้จริงแล้ว เป็นพฤติกรรมมนุษย์ ที่ไม่แก้ที่ปัญหาเป็นการสับขาหลอก ที่อาจหลอกคนอื่น และ หลอกตนเองไปพร้อม ๆ กัน เสมือน "นกกระจอกเทศที่หนีเสือโดนการเอาหัวมุดทราย" ปัญหาไม่ได้ถูกแก้ไขจริง ระยะยาวทำร้ายจิตใจตนเอง และ หลอกคนอื่นรอบตัวด้วย
ดังนั้น ปัญหามีไว้แก้ไข ท้าทายเพื่อการเติบโตกาย และ ใจ ดังนั้น ต้องมุ่งมั่น กล้าเผชิญ เรียนรู้ และ พร้อมแก้ไข ให้ตรงจุด
ท่านล่ะ พร้อมเผชิญปัญหารอบด้านในชีวิตแค่ไหน และ ปฏิเสธการแก้ปัญหาด้วยกลไกป้องกันตนเอง หรือ ไม่
ด้วยความปรารถนาดี
ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์
30 สิงหาคม 2562

รวมบทความของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ จาก facebook.com
 
Kritsada Tunpow : ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ริช เรสเตอรองต์ จำกัด บริษัทจัดตั้งขึ้น เพื่อบริหารจัดการธุรกิจ โชคดีติ่มซำ และ โคขุนโพนยางคำ เป็นนักวิชาการอิสระ ผู้มีประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการการตลาดมาอย่างมากมาย ได้จัดทำ คลิปวิดีโอ หลักสูตรการบริหารจัดการ เผยแพร่ผ่านช่อง Stepplus training และเขียนบทความแบ่งปันในเฟสบุ๊ค Kritsada Pop Tunpow อย่างต่อเนื่อง#
คลิกเปิดแบบ : พรีวิว หรือ ฉบับเต็ม
เอกสารอ้างอิงที่น่าสนใจ แบบ APA

นัฐปกรณ์ รวีธนาธร และ สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ. (2566). กลยุทธ์การขับเคลื่อนผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็ง ภายใต้บริบท ความเป็นชุมชนเมือง ในพื้นที่จังหวัดปริมณฑล. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 10(1), 198-213.

จงรักษ์ บุญยืน. (2566). แนวทางการบริหารการนิเทศภายในสำหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1. Journal of Modern Learning Development, 8(10), 124-140.

Dir : tec File : handbook_tec_63.txt Topic : kritsada_fb
คลิกที่นี่ เพื่อส่งไปทดสอบบน Pagespeed insights
key.php | keyspeed.php