การตัดครอบเนื้อหาจากเว็บเพจ ออกมาแยกแสดง

กฤษฎา ตันเปาว์ | จริยธรรมสำหรับผู้บริหาร | วิจัยคืออะไร | ศูนย์สอบ | KM | SWOT | คำสำคัญ | index100* |
เลือกบทความ

3. Soft skill + Hard skill ทักษะของมนุษย์ทำงานในปัจจุบัน

ในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป การทำงานของ "มนุษย์ทำงาน" ก็ต้องเปลี่ยนไปตามบริบทที่หมุนผันแปรไปตามพลวัตรของโลกที่ไม่หยุดนิ่ง ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรที่มีค่าเป็น "ทุนมนุษย์ (Human Capital)" ที่พึงประสงค์ขององค์กรก็ดี หรือ จะเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการใหม่ ก็ต้องมีทักษะที่จำเป็นในการทำงานยุคปัจจุบัน
ทักษะของมนุษย์ทำงาน สามารถแยกออกเป็น "ทักษะด้านความรู้ (Hard Skills)" และ "ทักษะด้านอารมณ์ (Soft Skills)" ดังนี้
1. Hard Skill - ทักษะด้านความรู้ ที่สื่อถึง ความพร้อมในเชิง ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ความคล่องแคล่ว และ ยังสะท้อนถึง ความเฉลียวฉลาดทางเชาว์ปัญญา ไหวพริบ ปฏิภาณ การมีเหตุมีผล และ ทักษะในการคำนวณ ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Intelligence Quotient: IQ นั่นเอง และ ส่วนมากจะเชื่อมกับ "สมองซีกซ้าย" ของเรา
1.1 ความรู้ที่ลึกซึ้งในงาน (Working Knowledge)
ในโลกของการแข่งขัน ความรู้สามารถหาได้ง่ายขึ้น และ รอบตัว ดังนั้น มนุษย์งานที่พร้อมทำงานได้เลยในงานนั้น ๆ จะได้เปรียบกว่าบุคลากรเข้าใหม่ต้องรอการฝึกฝน และ ปัจจุบันนี้ การให้ค่าของความรู้ในรายละเอียดงานสำคัญกว่าปริญญา หรือ เกรดในใบแสดงผลการเรียน
1.2 การคิดวิเคราะห์ และ ตรรกะเหตุผล (Critical Thinking and Logical Reasoning)
ทักษะในการคิดวิเคราะห์ประเด็นงาน และ การแก้ปัญหางาน ด้วยระบบสมองที่ลึกซึ้ง มองหลายมิติ และ รอบด้าน รวมถึงการให้เหตุผลที่ชัดเจน จะทำให้ภาพฉายถึง ความสามารถในการแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างชาญฉลาดของบุคคลนั้น ๆ ที่พร้อมจะก้าวหน้า และ เป็นผู้นำที่ดีต่อไปได้
1.3 ทักษะเกี่ยวกับสารสนเทศ (IT and Online Skill)
ในโลกปัจจุบัน การมีความรู้เชิงสารสนเทศในการใช้งาน และ การสื่อสารออนไลน์ ที่สัมพันธ์กันในรูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่ายกับทุกสิ่ง หรือ Internet of Things: IOT เป็นเรื่องใกล้ตัว ที่จำเป็นจะต้องรู้จักเป็นอย่างยิ่งเพื่อทันงานทันโลกที่ปัจจุบันเป็นยุคเปลี่ยนแปลงฉับพลันของดิจิตอล (Digital Disruption)
1.4 ทักษะการใช้โทรศัพท์มือถือ (Smart Phone Applicability Skill)
หนึ่งในเครื่องมือสื่อสารที่ทรงพลังที่สุดในยุค "สังคมก้มหน้า" คือ โทรศัพท์มือถือที่มีระบบเชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์หลายหลายการใช้งาน แม้ดูเหมือนเรื่องง่าย และ ใกล้ตัว แต่ลองพิจารณาดูว่า เราใช้ศักยภาพของโทรศัพท์มือถือได้ครบ เชี่ยวชาญ ลึกซึ้ง เป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของศักยภาพแท้จริงของเครื่อง หรือ ยัง
1.5 ความสามารถเชิงภาษา (Language Literacy)
ปัจจุบันนี้ภาษาพูด อ่าน เขียน ที่มากกว่าภาษาตน ยิ่งทวีความสำคัญ เพราะโลกถูกย่อด้วยเทคโนโลยีแล้ว ดังนั้นภาษาที่สอง และ สาม อาจเป็นประตูที่เปิดกว้างให้กับมนุษย์ทำงานให้โดดเด่น (Outstanding) ออกจากคนอื่น ๆ ได้อย่างชัดเจน
1.6 ทักษะในการจัดการงานเป็นระบบ (Management Skill)
ทักษะในการจัด "ระบบความคิด" เพื่อเชื่อมไปยังการจัดการงานให้เป็นระเบียบ เช่น ใช้ Demming Cycle: การวางแผน (Plan) การดำเนินการ (Do) ตรวจสอบ (Check) และ การปรับ/ แก้ไข (Act) เป็นต้น ให้งานตนมีมาตรฐานได้ดีมีมาตรฐาน
1.7 ความสามารถในการนำเสนอข้อมูล (Data Presentation)
คนจำนวนไม่น้อยที่ทำงานได้ดี แต่ไม่สามารถ "ฉายภาพ" ของคุณค่างานนั้น ๆ ให้หัวหน้า ทีม ลูกน้อง หรือ บุคคลภายนอกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องรู้ได้ เพราะขาดทักษะ "การนำเสนอ" ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบด้วย บุคลิกภาพ ทักษะการเรียงลำดับความคิด การใช้เทคโนโลยี และ สื่อในการนำเสนอที่ดี การใช้วัจนภาษา และ อวัจนภาษาที่น่าสนใจ ซึ่งจำเป็นต้องหัด และ เป็นการเสริมสร้าง "ความน่าเชื่อถือ" ให้กับทุกคนที่เกี่ยวข้อง
2. Soft Still - ทักษะด้านอารมณ์ ที่สื่อถึง ความพร้อม ความนิ่งเชิงผู้ใหญ่/ ผู้มีประสบการณ์ และ ความอ่อนไหวในด้านที่ถูกที่ควร โดยที่สื่อถึง ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient) ซึ่งจะเน้นจะเชื่อมกับ "สมองซีกขวา" ของเรานั่นเอง
2.1 การบริหารเวลา (Time Management)
การรู้จักหน้าที่ และ ให้ความสำคัญกับการ "ตรงต่อเวลา (On time)" และ สามารถจัดการงานต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมกับ "กรอบเวลา (Timeframe)" จะเป็นการแยกคนที่มี ประสิทธิภาพ (Efficiency) กับคนไร้ประสิทธิภาพออกจากกัน
2.2 ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability)
คนที่พร้อมในการ "ปรับ" และ "เปลี่ยน" พร้อม "เรียนรู้" ต่อสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ และ มีความรับผิดชอบต่องาน จะเป็นทุนมนุษย์ที่องค์กรใด ๆ ก็พร้อมอ้าแขนรับมากกว่า
2.3 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)
การรู้ว่าการสื่อสารระหว่างกันที่มีความต่าง ระหว่าง การสื่อสารขึ้นบน (Upward Communication) กับหัวหน้า การสื่อสารด้านข้าง (Horizontal Communication) กับเพื่อนร่วมงาน และ ฝ่ายอื่น ๆ ในระดับเดียวกัน และ การสื่อสารลงล่าง (Downward Communication) กับลูกน้อง ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือ บุคลากรในระดับต่ำกว่า ต่างก็ต้องใช้ เทคนิค ภาษาที่ใช้ คำพูด เครื่องมือ เอกสาร. ละ เทคนิค ที่ต่างกัน คนที่สื่อสารได้ดีจะได้เปรียบในงานกว่า
2.4 การทำงานเป็นทีมได้ (Team Collaboration)
ในโลกของการแข่งขันภายนอก ภายในองค์กรก็เช่นกัน คนที่ปรับตัวกันคนอื่น ๆ ได้อย่างหลากหลายลักษณะ ความรู้ ทักษะ รูปแบบงาน ผันตนตามคนอื่นไม่เอาตนเองเป็นศูนย์กลาง จะทำให้มีคุณค่ากับทีมในการเชื่อมโยงองค์กร และ งานได้ดีกว่า
2.5 ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ จะเป็นภาพสะท้อนของการมี และ พร้อมของ "ความคิดนอกกรอบ (Out of the Box)" และ การมีมุมมองใหม่ ซึ่งจะสร้างคุณค่าทั้งกับงานของตนเอง และ องค์กรได้ดี
2.6 การเจรจาต่อรอง (Negotiation)
หนึ่งในทักษะที่สะท้อนภาพการมีชั่วโมงบินสูง ของการเป็น "มืออาชีพ (Professional)" ที่เหนือกว่าคนอื่น คือ สามารถใช้เทคนิคการต่อรองที่จะได้ผล ชนะ-แพ้ (Win-Lose) หรือ ชนะ-ชนะ (Win-Win) ให้แก่ส่วนงาน หรือ องค์กรได้ ดังนั้นต้องมีเทคนิคในการให้น้ำหนัก ใช้ภาษา และ การชี้ประเด็นที่เด็ดขาดเพื่อผลลัพธ์ที่เป็นบวกนั่นเอง
ดังนั้นทั้ง Hard Skill และ Soft Skill ของงานในยุคปัจจุบันมีหลายสิ่งใหม่กับมนุษย์งาน คุณพร้อมจะเปลี่ยนตามเพื่อเป็น "ทุนมนุษย์ที่พึงประสงค์ (Desirable Human Capital)" ขององค์กรมากน้อยแค่ไหน
ด้วยความปรารถนาดี
ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์
15 กันยายน 2562

รวมบทความของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ จาก facebook.com
 
Kritsada Tunpow : ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ริช เรสเตอรองต์ จำกัด บริษัทจัดตั้งขึ้น เพื่อบริหารจัดการธุรกิจ โชคดีติ่มซำ และ โคขุนโพนยางคำ เป็นนักวิชาการอิสระ ผู้มีประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการการตลาดมาอย่างมากมาย ได้จัดทำ คลิปวิดีโอ หลักสูตรการบริหารจัดการ เผยแพร่ผ่านช่อง Stepplus training และเขียนบทความแบ่งปันในเฟสบุ๊ค Kritsada Pop Tunpow อย่างต่อเนื่อง#
คลิกเปิดแบบ : พรีวิว หรือ ฉบับเต็ม
เอกสารอ้างอิงที่น่าสนใจ แบบ APA

นัฐปกรณ์ รวีธนาธร และ สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ. (2566). กลยุทธ์การขับเคลื่อนผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็ง ภายใต้บริบท ความเป็นชุมชนเมือง ในพื้นที่จังหวัดปริมณฑล. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 10(1), 198-213.

จงรักษ์ บุญยืน. (2566). แนวทางการบริหารการนิเทศภายในสำหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1. Journal of Modern Learning Development, 8(10), 124-140.

Dir : tec File : handbook_tec_63.txt Topic : kritsada_fb
คลิกที่นี่ เพื่อส่งไปทดสอบบน Pagespeed insights
key.php | keyspeed.php